ธรรมสำหรับละนิวรณ์
“นิวรณ์” หมายถึง เครื่องกั้น คือเครื่องกั้นความดี ซึ่งมีอยู่ 5 ประการด้วยกัน กล่าวโดยภาษาง่ายๆ คือ
-กามฉันทะ หมายถึง ความยินดีพอใจในกามคุณ
-พยาบาท หมายถึง ความโกรธ
-ถีนมิทธะ หมายถึง ความหดหู่ ง่วงซึม
-อุทธัจจกุกกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน ความรำคาญใจ
-วิจิกิจฉา หมายถึง ความลังเลสงสัย
นิวรณ์ทั้ง
5 นี้
เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ที่ใฝ่ในธรรม เพราะเมื่อนิวรณ์เหล่านี้เกิดในใจ
ก็จะทำให้เราไม่สามารถทำคุณงามความดีได้ ซึ่งรวมถึงความดีหลายๆ ประเภท
ซึ่งรวมทั้งการไม่สามารถทำสมาธิ ทำวิปัสสนาได้อีกด้วย นิวรณ์จึงมีโทษมาก
เพราะตัวเองเป็นความชั่ว เป็นอกุศล ที่เมื่อเกิดขึ้นกับใคร
ก็มีลักษณะกั้นไม่ให้ความดีหรือกุศลเกิดขึ้นอีกด้วย
เหตุ
ที่ทำให้นิวรณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ก็เพราะการไม่ตั้งใจด้วยดี เผลอสติ
ไม่ประกอบด้วยปัญญา เรียกว่ามี “อโยนิโสมนสิการ” เมื่อไปใส่ใจโดยวิธีการเหล่านี้
ที่ทางธรรมเรียกว่า ไม่แยบคาย (เช่น ไม่ใส่ใจโดยความเป็น ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
ไม่มีตัวตน และไม่งาม หรือไม่ได้พิจารณาด้วยปัญญาอันถูกต้อง เช่น กัมมัสสกตาปัญญา
เป็นต้น) ในอารมณ์ที่เป็นเหตุให้เกิดนิวรณ์เหล่านี้ นิวรณ์ก็เกิดขึ้นในใจ เช่น
ไปใส่ใจในรูปสวย ๆ โดยไม่พิจารณาอย่างแยบคาย กามฉันทนิวรณ์ก็เกิดขึ้น
หรือใส่ใจโดยไม่แยบคายในเสียงที่เขาด่าว่า พยาบาทนิวรณ์ก็เกิด เป็นต้น ที่สำคัญคือ
เรารู้กันอยู่แล้วว่านิวรณ์เป็นสิ่งไม่ดี จะทำอย่างไรให้นิวรณ์ไม่เกิด
หรือเกิดน้อยลง แม้ปุถุชนจะยังไม่สามารถตัดกิเลสได้โดยสมบูรณ์
แต่ในอรรถกถาของมหาสติปัฏฐานสูตร ได้แสดงถึงวิธีละนิวรณ์ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
จึงขอนำมาโดยย่อดังนี้
กามฉันทะ ละได้โดย โยนิโสมนสิการ คือ ใส่ใจโดยแยบคาย ในอารมณ์ที่ไม่งาม (อสุภนิมิต)
ย่อมเป็นไปเพื่อการลดละกามฉันทะ และยังมีธรรมอีก 6 ประการที่เป็นไปเพื่อละกามฉันทะ คือ
การถืออสุภนิมิตเป็นอารมณ์
การประกอบเนือง
ๆ ซึ่งอสุภภาวนา
การรักษาทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
ความรู้จักประมาณในโภชนะ
ความมีกัลยาณมิตร
การพูดแต่เรื่องที่เป็นสัปปายะ
พยาบาท
ละได้โดย โยนิโสมนสิการ คือ ใส่ใจโดยแยบคาย ในการเจริญเมตตาและเมตตาสมาธิ
ย่อมเป็นไปเพื่อการลดละพยาบาท และยังมีธรรมอีก 6 ประการที่เป็นไปเพื่อละพยาบาท
คือ
การกำหนดนิมิตในเมตตาเป็นอารมณ์
การประกอบเนือง
ๆ ซึ่งเมตตาภาวนา
การพิจารณาถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน
การทำให้มากซึ่งการพิจารณา
ความมีกัลยาณมิตร
การพูดแต่เรื่องที่เป็นสัปปายะ
ภาพจาก สพฐ |
ถีนมิทธะ
ละได้โดย โยนิโสมนสิการ คือ ใส่ใจโดยแยบคาย ในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร เป็นต้น
การใส่ใจด้วยดีในความเพียร ทั้งความเพียรระดับเริ่มแรก ระดับที่มีกำลัง
และระดับที่มีกำลังยิ่ง ช่วยลดละถีนมิทธะ และยังมีธรรมอีก 6
ประการที่เป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ
การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
การใส่ใจถึงอาโลกสัญญา
(แสงสว่าง)
การอยู่กลางแจ้ง
ความมีกัลยาณมิตร
การพูดแต่เรื่องที่เป็นสัปปายะ
อุทธัจจกุกกุจจะ
ละได้โดย โยนิโสมนสิการ คือ ใส่ใจโดยแยบคาย ในความสงบแห่งใจ คือ สมาธิ
ย่อมเป็นไปเพื่อการลดละอุทธัจจกุกกุจจะ และยังมีธรรมอีก 6
ประการที่เป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ คือ
ความฟังมาก
ความสอบถาม
ความชำนาญในพระวินัย
ความคบผู้เจริญ
ความมีกัลยาณมิตร
พูดแต่เรื่องที่เป็นสัปปายะ
วิจิกิจฉา ละได้โดย โยนิโสมนสิการ คือ ใส่ใจโดยแยบคาย ในธรรมประเภทต่างๆ มีกุศลธรรม เป็นต้น ย่อมเป็นไปเพื่อการลดละวิจิกิจฉา และยังมีธรรมอีก 6 ประการที่เป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา คือ
ความสอบถาม
ความชำนาญในพระวินัย
ความมากด้วยศรัทธา
ความน้อมใจเชื่อ
ความมีกัลยาณมิตร
การพูดแต่เรื่องที่เป็นสัปปายะ
จะเห็นได้ว่าโดยรวมแล้ว
การป้องกันและลดละนิวรณ์นั้นทำได้โดยทางใจ การคิดให้ถูก
มองอะไรให้ถูกต้องตามธรรมย่อมช่วยได้ อีกทั้งโดยรวมแล้ว หากเราเลือกคบคนดี คือ
กัลยาณมิตร และระมัดระวังการพูดการเจรจาให้เป็นไปแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่ไม่เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นของอกุศล
(เรียกว่า สิ่งที่สัปปายะ หรือสิ่งที่สบาย)
ก็สามารถช่วยลดละนิวรณ์ทุกข้อได้อย่างมากมาย...
ขอบคุณบทความจาก หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ โดย...คุณสลิต
http://www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใจ/141238/ธรรมสำหรับละนิวรณ์
เผยแพร่ใน เว็บไซต์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ขอบคุณภาพจาก เว็บไซต์สำนักงานการศึกษาพื้นฐาน , เพจ wordy guru, www.dmc.tv, www.webkal.com, เพจการบ้าน
เผยแพร่ใน เว็บไซต์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ขอบคุณภาพจาก เว็บไซต์สำนักงานการศึกษาพื้นฐาน , เพจ wordy guru, www.dmc.tv, www.webkal.com, เพจการบ้าน