วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อปัณณกชาดก ชาดกว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความผิดพลาด ตอนที่ ๒


อปัณณกชาดก


ชาดกว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความผิดพลาด
ตอนที่ ๒


จากเรื่องราวของชาดกที่ได้นำมาแสดงไว้ใน อปัณณกชาดก ตอนที่ ๑
คลิกเพื่ออ่านได้ที่ลิงก์นี้ 

https://perceiveddhamma.blogspot.com/2019/07/blog-post.html

มีข้อคิดและวิธีปฏิบัติเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตได้ดังต่อไปนี้


ข้อคิดจากชาดก 

. คนพาลย่อมถือเอาการคาดคะเนเป็นประมาณ จึงมักตัดสินใจผิด ๆ เ ชื่อผิด ๆ หูเบา ถือสิ่งที่ไม่เป็นสรณะว่าเป็นสรณะ เหมือนเห็นกงจักรเป็นดอกบัว 
ไม่ว่าในกาลไหน ๆ ก็ตาม บัณฑิตย่อมหมั่นอบรมตนและหมู่คณะให้ตั้งอยู่ในอปัณณกธรรมเป็นประจำ ผู้ที่จะประพฤติอปัณณกธรรมให้สมบูรณ์เต็มที่ ต้องรักษาศีล  เป็นปกติ และฝึกสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ
บัณฑิตย่อมไม่ถืออารมณ์ตนเป็นใหญ่ (อัตตาธิปไตยไม่ถือคนหมู่มากเป็นใหญ่ ไม่หลงค่านิยมผิด ๆ ตามสังคม (โลกาธิปไตยแต่ถือธรรมคือเหตุผลความถูกต้องเป็นใหญ่ (ธรรมาธิปไตย
อุปนิสัยใจคอกรรมดีกรรมชั่วที่ตนทำไว้ไม่สูญเปล่า ย่อมติดตามตนไปทุกภพทุกชาติ 
การไม่คบคนพาล เลือกคบแต่บัณฑิต ย่อมเป็นมงคลจริง 
การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เช่น ยกย่องบัณฑิตให้เป็นผู้นำยึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งย่อมเป็นมงคลจริง 
การเป็นพหูสูตศึกษามากย่อมเป็นมงคลจริง 
การเป็นคนมีวินัยตั้งอยู่ในโอวาทของบัณฑิตย่อมเป็นมงคลจริง 
การได้ฟังธรรมย่อมเป็นมงคลจริง 
๑๐การฝึกตนให้เป็นคนไม่ประมาท ไม่หวังน้ำบ่อหน้า ย่อมเป็นมงคลจริง 
๑๑การฝึกอินทรียสังวรซึ่งเป็นตบะคือคุณเครื่องเผาผลาญบาปอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นมงคลจริง
๑๒โลกนี้โลกหน้ามีจริง 
๑๓พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสจริง







วิธีปฏิบัติ อปัณณกธรรมในระดับพระภิกษุ

๑.  อินทรียสังวร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ แล้วไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ เพื่อไม่ให้อกุศลบาปกรรม คือ อภิชฌาและโทมนัสหลังไหลเข้าสู่จิตใจ โดยย่อคือไม่ให้ยินดียินร้าย ในเมื่อได้เห็นรูป ฟังเสียง เป็นต้น
ไม่ถือโดยนิมิต หมายถึง ไม่ถือรวมๆว่าบุคคลนี้สวยงามจริงหนอหล่อจริงหนอ
ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ หมายถึง ไม่ถือแยกว่าแขนงาม ขางาม หน้างาม ฯลฯ การปิดกั้นอภิชฌาและโทมนัสมิให้รั่วไหลเข้าครอบงำจิตใจโดยทางตาหูจมูก ฯลฯ นี้ชื่อว่าเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ด้วยดี เมื่อสำรวมอินทรีย์ดีแล้ว ก็เหมือนปิดประตูบ้านไว้ดี โจรจึงเข้าบ้านไม่ได้ ศีลย่อมอยู่อย่างครบถ้วน 
โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในอาหารพิจารณาอาหารโดยแยบคายก่อนบริโภค ว่าอาหารเหล่านี้มิใช่จะบริโภคเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อประดับ เพื่อตกแต่ง แต่บริโภคเพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ดำเนินไป เพื่องดเว้นการเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ดังนั้นเราจะบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การยังชีวิตให้ดำเนินไป ความไม่มีโทษและการอยู่อย่างผาสุกจะมีแต่เราดังนี้ 
ประกอบชาคริยานุโยค ชำระจิตจากนิวรณ์ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งสมาธิติดต่อกันตลอดวัน ในเวลากลางคืนก็จงกรมและทำสมาธิภาวนาตลอดปฐมยาม นอนสีหไสยาสน์ ตะแคงขวาเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติสัมปชัญญะ ตั้งใจจะลุกขึ้นในมัชฌิมยาม ลุกขึ้นแล้วก็รีบเร่งชำระจิต จากนิวรณ์ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งสมาธิตลอดปัจฉิมยาม




พระคาถาประจำชาดก
อปณฺณกฏฐานเมเก ทุติยํ อาหุ ตกฺกิกา
เอตทญฺญาย เมธาวี ตํ คณฺเห ยทปณฺณกํ

คนพวกหนึ่ง กล่าวฐานะอันหนึ่งว่า ไม่ผิด
นักเดาทั้งหลายกล่าวฐานะอันนั้นว่าเป็นที่สอง
คนมีปัญญารู้ฐานะและมิใช่ฐานะนั้นแล้ว
ควรถือฐานะที่ไม่ผิดไว้


ขอขอบคุณ เรื่องและภาพจาก นิทานชาดก อันดับที่ ๑ โดย หลวงพ่อทัตตชีโว (เผด็จ ทตฺตชีโว)
ขอขอบคุณภาพจาก เพจการบ้าน https://www.facebook.com/spirit4cards/



อปัณณกชาดก ชาดกว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความผิดพลาด ตอนที่ ๑


อปัณณกชาดก

ชาดกว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความผิดพลาด

สถานที่ตรัสชาดก
เชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี

สาเหตุที่ตรัสชาดก

วันหนึ่ง อนาถบิณฑิกเศรษฐีและบริวารได้นำดอกไม้ธูปเทียนและสิ่งของควรแก่สมณะบริโภค ไปกราบถวายบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์  เชตะวันมหาวิหารตามปกติ ในวันนั้นมีสหายของท่านเศรษฐีอีก ๕๐๐ คน ซึ่งเป็นสาวกของ อัญญเดียรถีย์ ตามไปด้วย




ครั้นฟังพระธรรมเทศนาจบแล้ว สหายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ๕๐๐ คนนั้น เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเปี่ยมล้น จึงละ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด เลิกนับถือลัทธิอัญญเดียรถีย์ ประกาศตนเป็น พุทธมามกะ ถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งตลอดไป นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา ต่างก็ตั้งใจไปวัดให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนามิได้ขาด
ต่อมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจากเชตะวันมหาวิหาร นครสาวัตถี ไปประทับ  กรุงราชคฤห์ พวก อุบาสก สาวกเก่า อัญญเดียรถีย์ทั้ง ๕๐๐ คน ก็เลิกไปวัด หันกลับไปนับถืออัญญเดียรถีย์ตามเดิมอีก
ครั้นอีก - เดือนต่อมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังเชตะวันมหาวิหารตามเดิม อัญญเดียรถีย์ทั้ง ๕๐๐ คนนั้น ก็ตามอนาถบิณฑิกเศรษฐีไปวัดอีก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนสติด้วยการตรัส อานิสงส์ ของการบูชา พระรัตนตรัย ว่ามีอานิสงส์มากคือ 
ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งย่อมไม่ไปอบาย คือไม่ไปเกิดในนรก เป็นต้น 
ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งย่อมไปบังเกิดในเทวโลก ได้เสวยทิพยสมบัติอย่างแน่นอน
ฉะนั้น การที่อัญญเดียรถีย์ทั้ง ๕๐๐ คนนี้เป็นคนโลเลกลับกลอก รับไตรสรณคมน์แล้วละทิ้งเสีย ย่อมเป็นความผิดมหันต์ ไม่สมควรอย่างยิ่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงระลึกชาติหนหลังของอัญญเดียรถีย์ทั้ง ๕๐๐ คนนี้ด้วย บุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสเป็นปริศนาธรรมว่า
“ แม้ในกาลก่อน มนุษย์ทั้งหลาย ถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่สรณะว่า เป็นสรณะ โดยการถือเอาด้วยการคาดคะเน โดยการถือเอาผิด ๆ จึงตกเป็นภักษาหารของยักษ์ในทางกันดาร ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ส่วนเหล่ามนุษย์ผู้ถือการยึดถือชอบธรรม คือ ยึดถือเหตุผล ยึดถือไม่ผิด ได้ถึงความสวัสดีในทางกันดาร” 
ครั้นตรัสแล้วก็นิ่งเสีย อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงกราบทูลอาราธนา พระพุทธองค์จึงตรัสเล่า อปัณณกชาดก มีความโดยย่อว่า


เนื้อหาชาดก

ครั้งหนึ่ง ในอดีตกาล  เมืองพาราณสี มีพ่อค้าใหญ่  คนเป็นเพื่อนกัน ต่างนำสินค้าบรรทุกเกวียนไปขายยังต่างถิ่นเมืองไกลเป็นประจำ แต่นิสัยใจคอของพ่อค้าทั้งสองคนนี้แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน 




พ่อค้าคนหนึ่งเป็นคนเจ้าอารมณ์ หูเบา เชื่อคนง่าย และขาดความสังเกต จึงมักตัดสินใจผิดพลาดเป็นประจำ
ส่วนพ่อค้าอีกคนหนึ่งเป็นคนมีสติปัญญา มีความรู้ดีและช่างสังเกต ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่หูเบา ไม่เชื่อคนง่าย
พ่อค้าช่างสังเกตนี้มีหลักธรรมประจำใจที่เรียกว่า อปัณณกธรรม แปลว่า ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดพลาด  ประการคือ 
เตรียมป้องกันความลุ่มหลงเมามัว ในการดูรูปสวย ๆ ในการฟังเสียงไพเราะ ในการสูดกลิ่นหอมหวน ในการลิ้มรส ในการสัมผัสในอารมณ์น่าใคร่ อันเป็นเหตุให้ต้องเสียงาน โดยมี อินทรียสังวร คือ สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ของตน เมื่อได้เห็น ได้ฟัง ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้แตะต้อง ได้นึกคิด จึงมีสติมั่น ไม่ยินดียินร้าย ไม่ประมาท ว่าสิ่งเหล่านั้นมีโทษเพียงเล็กน้อย มีความตื่นตัว รู้จักระแวงภัยจากวัตถุ และอารมณ์น่าใคร่ และรู้จักระวังป้องกันภัยที่จะมาถึง เสมือนกระต่ายขุดโพรงอาศัยอยู่เพียงโพรงเดียว แต่ขุดปล่องเตรียมทางหนีทีไล่ไว้ถึง  ปล่อง 
เตรียมป้องกันปัญหาเรื่องปากท้อง โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน (ถ้ากินน้อยไปก็ไม่มีแรง ถ้ากินมากไปก็ง่วงเหงาหาวนอนจิตใจฟุ้งซ่าน ถ้ากินไม่เป็นเวลา น้ำย่อยก็กัดกระเพาะลำไส้ ถ้ากินสิ่งมึนเมาให้โทษก็เสียสุขภาพโดยมี โภชเนมัตตัญญุตา คือรู้จักประมาณในการกินอาหาร ได้แก่ กินแต่พอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป เลือกกินแต่ของที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายเท่านั้น ในการรับประทานอาหารเมื่อรู้สึกว่าอีก - คำจะอิ่มให้หยุดเสีย แล้วดื่มน้ำแทนสักแก้วหนึ่งก็จะอิ่มพอดี 
เตรียมป้องกันปัญหาเกียจคร้านสันหลังยาว ไม่เห็นแก่ความสุขในการนอน โดยประกอบ ชาคริยานุโยค คือ ฝึกสติให้เป็นคนตื่นตัวอยู่เสมอ เช่น ระลึกถึงหน้าที่การงานที่รับผิดชอบตลอดเวลา ออกกำลังแต่พอดี พักผ่อนตามเวลาอันควร สวดมนต์ ภาวนา รักษาศีล เป็นกิจวัตร
นอกจากตนเองจะตั้งอยู่ในอปัณณกธรรมทั้ง  ประการนี้แล้ว พ่อค้าช่างสังเกตยังอบรมบริวารทั้ง ๕๐๐ คนของตน ให้ปฏิบัติตามอีกด้วย
อยู่มาคราวหนึ่ง พ่อค้าทั้งสองคนต่างคิดจะเดินทางข้ามทะเลทรายซึ่งกันดารมาก ไปค้าขายยังเมืองเดียวกัน แต่ไม่อาจไปพร้อมกันได้เพราะอาหาร น้ำ และหญ้าระหว่างทางจะขาดแคลนไม่พอเพียงสำหรับคนและโค
พ่อค้าหูเบาคิดว่าตนควรจะออกเดินทางไปก่อน ด้วยเหตุผลว่า 
หนทางยังราบเรียบ ไม่ถูกเหยียบย่ำให้แตกเป็นฝุ่น 
หญ้าเลี้ยงโคก็มีเต็มที่ ยังไม่มีใครแตะต้อง 
พืชผักผลไม้ก็ยังบริบูรณ์อยู่ทั้งสองข้างทาง 
น้ำตามทางยังใสสะอาดอยู่ น่าดื่มกิน 
สามารถตั้งราคาสินค้าขายได้ตามใจชอบ

ส่วนพ่อค้าช่างสังเกตคิดว่าควรจะออกเดินทางไปที่หลัง ด้วยเหตุผลว่า 
หนทางที่ขรุขระจะราบเรียบสม่ำเสมอ เพราะคนชุดก่อนถากถางไว้แล้ว 
หญ้าเลี้ยงโคก็จะงอกขึ้นใหม่ อ่อนกำลังดี 
พืชผักซึ่งคนชุดแรกเด็ดกินไป จะแตกยอดขึ้นมาใหม่ อ่อนกำลังน่ารับประทาน 
ในบริเวณไม่มีน้ำคนชุดแรกก็จะต้องขุดบ่อน้ำเอาไว้แล้ว 
การตั้งราคาสินค้าเป็นการยากถ้าหากขายสินค้าตามที่คนชุดแรกตั้งไว้ย่อมสะดวกกว่า

พ่อค้าหูเบานำบริวาร ๕๐๐ คน พร้อมด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม บรรทุกสินค้าไปเต็มที่ เตรียมน้ำใส่ตุ่มใหญ่ ๆ บรรทุกเกวียนไปด้วย กะให้พออาบกินตลอดระยะทางกันดาร ๖๐ โยชน์ เดินทางไปจนเข้าเขตทะเลทราย จนถึงเขตแดน ยักษ์ กินคน พวกยักษ์กลุ่มหนึ่งประมาณ ๒๐ ตน จำแลงกายเป็นคนนั่งรถเทียมด้วยโคขาวปลอดประดับประดาอย่างสวยงามสวนทางมา โคลนติดล้อหนาเตอะเหมือนเพิ่งเดินทางฝ่าสายฝนที่ตกหนักมาใหม่ ๆ แต่ละคนท่าทางแข็งกระด้างกำแหงหาญ ยืนบ้าง นั่งบ้างบนรถ เคี้ยวกินเหง้าบัวอย่างเอร็ดอร่อย แสดงว่าสองข้างทางที่พวกเขาผ่านมานั้น มีห้วยหนองคลองบึงเต็มไปหมด
ยักษ์แปลงนั้นแสร้งพูดหลอกพ่อค้าหูเบาให้ตายใจว่า หนทางที่ผ่านมานั้นฝนตกหนัก น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องขนตุ่มน้ำไปให้หนักเปล่า แล้วขับเกวียนผ่านไป พอลับตาก็กลับเป็นยักษ์กินคน ย้อนติดตามหลังขบวนเกวียนของพ่อค้า

พ่อค้าหูเบาเห็นแก่ความสะดวกสบาย ไม่คิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ สั่งบริวารให้เทน้ำในตุ่มทิ้งเสียหวังจะได้น้ำบ่อหน้า แต่เดินทางไปตลอดวันจะหาน้ำสักหยดก็ไม่พบ จึงรู้ว่าถูกหลอกเสียแล้ว ครั้นตกเย็นก็อ่อนเปลี้ยเพลียแรง หิวโหย อดทั้งข้าวและน้ำ ทั้งคนและโคก็สลบไสล กลายเป็นอาหารอันโอชะของยักษ์กินคนในค่ำคืนนั้นเอง เหลือไว้แต่เกวียนบรรทุกสินค้า จอดอยู่กลางทะเลทรายอันเวิ้งว้างเท่านั้น 




ต่อมาประมาณเดือนครึ่ง พ่อค้าช่างสังเกตก็ออกเดินทางพร้อมด้วยบริวาร ๕๐๐ คน ขับเกวียน ๕๐๐ เล่ม ตามมาอย่างระมัดระวัง ค่ำที่ไหนก็พักที่นั่น ก่อนนอนก็จัดขบวนเกวียนให้เรียบร้อย และตั้งเวรยามคอยป้องกันรักษาสินค้าอย่างรัดกุม จนกระทั่งล่วงเข้าเขตทะเลทราย พ่อค้าช่างสังเกตก็เรียกประชุมบริวารทั้งหมด ให้โอวาทแก่คนเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ให้ถือปฏิบัติอปัณณกธรรมทั้ง  ประการอย่างเคร่งครัด คือ มีอินทรียสังวร โภชเนมัตตัญญุตา และชาคริยานุโยค แล้วตั้งกฎข้อบังคับขึ้นเป็นหลักปฏิบัติชั่วคราว  ข้อ คือ 
ให้ทุกคนใช้น้ำอย่างประหยัด 
ห้ามรับประทานพืชผักผลไม้ประหลาดที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน เป็นการป้องกันไม่ให้หลงกินพันธุ์ไม้มีพิษ 
ให้ช่วยกันสังเกตธรรมชาติ และความเคลื่อนไหวผิดปกติต่าง ๆ ตลอดทางไม่เห็นแก่พักผ่อนหลับนอน
เมื่อเดินทางข้ามทะเลทรายมาได้ครึ่งทาง ยักษ์กินคนก็แสดงตนเป็นคนขับเกวียนสวนทางมา และทำอุบายเช่นเดิม พ่อค้าช่างสังเกตพอเห็นก็จับพิรุธได้ทันทีว่า 
๑. บุคคลเหล่านี้มีท่าทางแข็งกร้าวห้าวหาญผิดมนุษย์ 
บุคคลเหล่านี้มีนัยน์ตาแดงเหมือนคนโกรธจัด ผิดมนุษย์
บุคคลเหล่านี้ แม้ยืนอยู่ท่ามกลางแสงแดดก็ไม่มีเงาปรากฏ ผิดมนุษย์
พ่อค้าช่างสังเกตเชื่อว่า กลุ่มบุคคลประหลาดที่สวนทางมานี้ ต้องไม่ใช่มนุษย์แน่นอน คงจะเป็นยักษ์จำแลงมาทำอุบายหลอกลวง จึงประชุมให้โอวาทแก่บริวารทั้ง ๕๐๐ คน ชี้แจงให้ทราบถึงธรรมชาติของฝนตกว่า 
๑. เมื่อฝนตก ลมฝนอันเย็นชุ่มชื่นจะต้องพัดครอบคลุมไปเป็นระยะทาง  โยชน์ แต่พวกตนมาใกล้บริเวณที่ว่าฝนตกแล้ว ก็ยังมิได้ต้องลมนั้นเลย 
เมื่อฝนตก ฟ้าย่อมแลบแปลบปลาบแลเห็นได้ในระยะทาง - โยชน์ แต่ก็ยังไม่เคยเห็นสายฟ้าแลบสักแปลบเดียว 
เมื่อฝนตก เมฆฝนดำครึ้มย่อมปรากฏให้เห็นได้ในระยะทาง  โยชน์ แต่ก็ยังไม่เคยเห็นเมฆแม้แต่ก้อนเดียว 
เมื่อฝนตกฟ้าย่อมร้องครืน ๆ ไปไกล ได้ยินในระยะทาง  โยชน์ แต่ก็ยังไม่เคยได้ยินเสียงฟ้าร้องสักครืนเดียว 

ครั้นได้ชี้แจงให้บริวารทราบดังนี้แล้ว จึงกำชับให้ทุกคนใช้น้ำอย่างประหยัดยิ่งขึ้น เร่งขับเกวียนไป เย็นวันนั้นเองก็เดินทางไปถึงบริเวณที่กองเกวียนของพ่อค้าหูเบาจอดสงบอยู่ รายรอบด้วยกองกระดูกของคนและโค ที่ยักษ์กินทิ้งไว้

พ่อค้าช่างสังเกตฝึกปฏิบัติอปัณณกธรรมมาเป็นปกติวิสัย จึงไม่หวาดหวั่นครั่นคร้ามกุมสติได้อย่างดี สั่งให้บริวารปลดเกวียนออก ตั้งกองค่ายเกวียนเป็นวงรอบทั้งคนและโค แล้วพักกินอาหารเย็นท่ามกลางกองเกวียนนั้น ตกค่ำก็จัดคนแข็งแรงมีอาวุธครบมือผลัดกันอยู่เวรยามตลอดคืน ยักษ์จึงไม่กล้าเข้ามากล้ำกราย 




รุ่งเช้าก็สั่งบริวารให้รีบทำกิจส่วนตัวให้โคกินหญ้า แล้วเลือกเอาแต่เกวียนที่แข็งแรงแน่นหนาไว้ คัดเอาสินค้ามีค่าของพ่อค้าหูเบาตามใจชอบ แล้วออกเดินทางไปยังเมืองที่ตนปรารถนา ขายสินค้าเหล่านั้น ทั้งหมดได้กำไรงามกว่าที่คิดไว้ถึง - เท่าตัว และกลับสู่เมืองพาราณสีโดยสวัสดิภาพ
นับแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา พ่อค้าและบริวารทั้ง ๕๐๐ คน ล้วนซาบซึ้งถึงอานิสงส์อันประเสริฐของอปัณณกธรรม ว่าเป็นธรรมสำหรับคุ้มครองชีวิตและป้องกันความผิดพลาดได้ดีเลิศ ต่างคนต่างปฏิบัติอปัณณกธรรมเต็มที่ตามกำลังความสามารถของตน ทำให้เป็นผู้มีสติ มีเหตุผล รู้คุณและโทษ รู้ความเจริญและความเสื่อม รู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ รู้ฐานะและมิใช่ฐานะ แล้วถือเอาฐานะที่ไม่ผิดไว้ ไม่ถือเอาโดยการคาดคะเน เป็นผู้มีปัญญาปฏิบัติตรงตามหนทางของบัณฑิตตลอดอายุขัย ครั้นละโลกแล้วก็ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ สมแก่กรรมดีที่ตนทำไว้โดยทั่วหน้า 
ท้ายที่สุดแห่งชาดกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสุภาษิตว่า
การถือเอาโดยการคาดคะเนเป็นประมาณ จัดเป็นการถือที่ผิด การถือตามเหตุผลซึ่งเป็นจริง จัดเป็นการถือที่ถูก สิ่งใดที่ไม่ผิด ผู้เป็นบัณฑิตย่อมถือสิ่งนั้น

อธิบายศัพท์
อปัณณกชาดก (อ่านว่าอะ-ปัน-นะ-กะ-ชา-ดก)
สาวก     ผู้ฟังคำสอนศิษย์
อัญญเดียรถีย์      นักบวชนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่ง ซึ่งหลงเข้าใจผิดว่าการทรมานตัวด้วยวิธีต่าง ๆ ย่อมสามารถทำให้หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ได้
มิจฉาทิฐิ             ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรมเช่นเห็นว่าบิดามารดาไม่มีพระคุณต่อเรานรก-สวรรค์ไม่มีบุญ-บาปไม่มีเป็นต้น
พุทธมามกะ        หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ าพุทธศาสนิกชนหรือชาวพุทธ หมายถึงผู้ยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก เป็นแนวทางปฏิบัติและเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิต
อุบาสก                ฆราวาสผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
อานิสงส์              ผลบุญผลแห่งกุศลกรรมประโยชน์
พระรัตนตรัย      แปลว่าแก้วประเสริฐ  ดวง เป็นศัพท์เฉพาะหมายถึง สิ่งเคารพนับถือสูงสุดของพุทธศาสนิกชน ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้ใดเคารพนับถือและปฏิบัติตามด้วยความจริงใจย่อมสามารถยกใจของผู้นั้นให้สูงขึ้น พ้นจากอำนาจกิเลสทั้งหลายได้ และนำความปลาบปลื้มใจมาให้
สรณะ                  แปลว่า ที่พึ่ง ที่ระลึก หมายถึงที่พึ่งทางใจ เมื่อเกิดปัญหาชีวิตขึ้นผู้ถือสิ่งใดเป็นสรณะก็จะระลึกถึงสิ่งนั้นชาวพุทธพึ่งพระรัตนตรัยด้วยการระลึกถึงคุณความดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทำไว้แล้วเป็นตัวอย่างแล้วปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนอย่างเคร่งครัดโดยมีพระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นทั้งครูและกัลยาณมิตรคอยแนะนำตักเตือนให้
บุพเพนิวาสานุสติญาณความรู้อันเป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์อันตมและสัตว์อื่นเคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนหรือการระลึกชาตินั่นเอง
โยชน์                   ระยะทางยาว ๔๐๐ เส้น
ยักษ์                     เป็นอมนุษย์พวกหนึ่ง เป็นกายกึ่งหยาบกึ่งละเอียด คือไม่หยาบเท่ากายมนุษย์ แต่ไม่ละเอียดเท่ากายเทวดา เพราะฉะนั้นบางครั้งจึงเหาะได้หายตัวได้เช่นเดียวกับเทวดา แต่ในเวลาเดียวกันก็สามารถกินอาหารหยาบ ๆ เช่นเดียวกับมนุษย์ได้ เดิมที่ยักษ์เคยเป็นมนุษย์มาก่อน แต่เป็นคนมีนิสัยมักโกรธ ถึงแม้จะให้ทานรักษาศีล แต่ก็ทำด้วยอารมณ์ขุ่นมัว เมื่อละโลกไปแล้วจึงไปเกิดเป็นยักษ์

ติดตามข้อคิดจากที่ได้จากชาดกเรื่องนี้ในตอนที่ ๒
คลิกลิงก์ เพื่ออ่านตอนที่ ๒ https://perceiveddhamma.blogspot.com/2019/07/blog-post_31.html

ขอขอบคุณ เรื่องและภาพจาก นิทานชาดก อันดับที่ ๑ โดยหลวงพ่อทัดตชีโว (เผด็จ ทตฺตชีโว)
ขอขอบคุณภาพ จาก www.dmc.tv, www.historycollection.co, www.pantip.com