วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อปัณณกชาดก ชาดกว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความผิดพลาด ตอนที่ ๒


อปัณณกชาดก


ชาดกว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความผิดพลาด
ตอนที่ ๒


จากเรื่องราวของชาดกที่ได้นำมาแสดงไว้ใน อปัณณกชาดก ตอนที่ ๑
คลิกเพื่ออ่านได้ที่ลิงก์นี้ 

https://perceiveddhamma.blogspot.com/2019/07/blog-post.html

มีข้อคิดและวิธีปฏิบัติเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตได้ดังต่อไปนี้


ข้อคิดจากชาดก 

. คนพาลย่อมถือเอาการคาดคะเนเป็นประมาณ จึงมักตัดสินใจผิด ๆ เ ชื่อผิด ๆ หูเบา ถือสิ่งที่ไม่เป็นสรณะว่าเป็นสรณะ เหมือนเห็นกงจักรเป็นดอกบัว 
ไม่ว่าในกาลไหน ๆ ก็ตาม บัณฑิตย่อมหมั่นอบรมตนและหมู่คณะให้ตั้งอยู่ในอปัณณกธรรมเป็นประจำ ผู้ที่จะประพฤติอปัณณกธรรมให้สมบูรณ์เต็มที่ ต้องรักษาศีล  เป็นปกติ และฝึกสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ
บัณฑิตย่อมไม่ถืออารมณ์ตนเป็นใหญ่ (อัตตาธิปไตยไม่ถือคนหมู่มากเป็นใหญ่ ไม่หลงค่านิยมผิด ๆ ตามสังคม (โลกาธิปไตยแต่ถือธรรมคือเหตุผลความถูกต้องเป็นใหญ่ (ธรรมาธิปไตย
อุปนิสัยใจคอกรรมดีกรรมชั่วที่ตนทำไว้ไม่สูญเปล่า ย่อมติดตามตนไปทุกภพทุกชาติ 
การไม่คบคนพาล เลือกคบแต่บัณฑิต ย่อมเป็นมงคลจริง 
การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เช่น ยกย่องบัณฑิตให้เป็นผู้นำยึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งย่อมเป็นมงคลจริง 
การเป็นพหูสูตศึกษามากย่อมเป็นมงคลจริง 
การเป็นคนมีวินัยตั้งอยู่ในโอวาทของบัณฑิตย่อมเป็นมงคลจริง 
การได้ฟังธรรมย่อมเป็นมงคลจริง 
๑๐การฝึกตนให้เป็นคนไม่ประมาท ไม่หวังน้ำบ่อหน้า ย่อมเป็นมงคลจริง 
๑๑การฝึกอินทรียสังวรซึ่งเป็นตบะคือคุณเครื่องเผาผลาญบาปอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นมงคลจริง
๑๒โลกนี้โลกหน้ามีจริง 
๑๓พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสจริง







วิธีปฏิบัติ อปัณณกธรรมในระดับพระภิกษุ

๑.  อินทรียสังวร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ แล้วไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ เพื่อไม่ให้อกุศลบาปกรรม คือ อภิชฌาและโทมนัสหลังไหลเข้าสู่จิตใจ โดยย่อคือไม่ให้ยินดียินร้าย ในเมื่อได้เห็นรูป ฟังเสียง เป็นต้น
ไม่ถือโดยนิมิต หมายถึง ไม่ถือรวมๆว่าบุคคลนี้สวยงามจริงหนอหล่อจริงหนอ
ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ หมายถึง ไม่ถือแยกว่าแขนงาม ขางาม หน้างาม ฯลฯ การปิดกั้นอภิชฌาและโทมนัสมิให้รั่วไหลเข้าครอบงำจิตใจโดยทางตาหูจมูก ฯลฯ นี้ชื่อว่าเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ด้วยดี เมื่อสำรวมอินทรีย์ดีแล้ว ก็เหมือนปิดประตูบ้านไว้ดี โจรจึงเข้าบ้านไม่ได้ ศีลย่อมอยู่อย่างครบถ้วน 
โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักประมาณในอาหารพิจารณาอาหารโดยแยบคายก่อนบริโภค ว่าอาหารเหล่านี้มิใช่จะบริโภคเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อประดับ เพื่อตกแต่ง แต่บริโภคเพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ดำเนินไป เพื่องดเว้นการเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ดังนั้นเราจะบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การยังชีวิตให้ดำเนินไป ความไม่มีโทษและการอยู่อย่างผาสุกจะมีแต่เราดังนี้ 
ประกอบชาคริยานุโยค ชำระจิตจากนิวรณ์ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งสมาธิติดต่อกันตลอดวัน ในเวลากลางคืนก็จงกรมและทำสมาธิภาวนาตลอดปฐมยาม นอนสีหไสยาสน์ ตะแคงขวาเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติสัมปชัญญะ ตั้งใจจะลุกขึ้นในมัชฌิมยาม ลุกขึ้นแล้วก็รีบเร่งชำระจิต จากนิวรณ์ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งสมาธิตลอดปัจฉิมยาม




พระคาถาประจำชาดก
อปณฺณกฏฐานเมเก ทุติยํ อาหุ ตกฺกิกา
เอตทญฺญาย เมธาวี ตํ คณฺเห ยทปณฺณกํ

คนพวกหนึ่ง กล่าวฐานะอันหนึ่งว่า ไม่ผิด
นักเดาทั้งหลายกล่าวฐานะอันนั้นว่าเป็นที่สอง
คนมีปัญญารู้ฐานะและมิใช่ฐานะนั้นแล้ว
ควรถือฐานะที่ไม่ผิดไว้


ขอขอบคุณ เรื่องและภาพจาก นิทานชาดก อันดับที่ ๑ โดย หลวงพ่อทัตตชีโว (เผด็จ ทตฺตชีโว)
ขอขอบคุณภาพจาก เพจการบ้าน https://www.facebook.com/spirit4cards/



3 ความคิดเห็น: