วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

ป้องกันตนเองจากโรคโควิด19 ด้วยนิสัยรักษาสุขภาพ ตอนที่ 2 นิสัยการขับถ่ายปัสสาวะ


การป้องกันตนเองจากโรคระบาดโควิด19ที่ดีที่สุด คือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยนิสัยการดื่มน้ำ เมื่อเราได้ศึกษาเรื่องนิสัยการดื่มน้ำกันไปพอสมควรแล้ว นิสัยรักสุขภาพต่อไปก็คือ 





นิสัยการขับถ่ายปัสสาวะ

สิ่งที่ไม่ควรให้เกิดเป็นนิสัยเลย นั่นคือนิสัยการอั้นปัสสาวะและอั้นอุจจาระ ซึ่งเป็นนิสัยบั่นทอนสุขภาพ

ผลเสียของการอั้นปัสสาวะนาน ๆ

ใครที่อั้นปัสสาวะจนมีความรู้สึกว่าหายปวด อย่าเข้าใจผิด คิดว่าร่างกายของเราแข็งแรง เพราะสภาวะเช่นนั้น กำลังก่อความพินาศให้กับร่างกายของเรา นับตั้งแต่กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โลหิตพิการ ตับร้อน ไตร้อน โรคภูมิแพ้ กลิ่นตัว แรง นิ่ว กระเพาะปัสสาวะเกร็ง เป็นต้น รวมไปถึงทำให้ผลของการปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้าอีกด้วย

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ผลของการอั้นปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและอาการเบื้องต้น ก็คือ เวลาปัสสาวะจนรู้สึกว่าหมดแล้ว แต่พอเวลาผ่านไปไม่ถึง 5 นาที กลับปวดปัสสาวะอีก ยิ่งไปกว่านั้น หากกระเพาะปัสสาวะอักเสบนาน ติดต่อกันเป็นอาทิตย์ พอปัสสาวะว่าหมดแล้ว ทันทีที่ลุกขึ้นมันจะหยดติ๋ง ๆ เลย เพราะเมื่อเราอั้นปัสสาวะนาน ๆ ปัสสาวะจะถูกดูดซึมย้อนกลับ (Reabsorb) เข้าไปในเส้นเลือดแล้วก็ถูกขับออกมาใหม่ เพราะฉะนั้นจำนวนปัสสาวะออก มาใหม่เท่าไร ก็ฟ้องว่ามันได้ถูกดูดซึมย้อนกลับเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดเท่านั้น

บางคนมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้พบมากที่ บริเวณทวารหนัก แล้วเกิดการปนเปื้อนเข้าสู่ท่อปัสสาวะจนมาถึงกระเพาะปัสสาวะ เมื่ออั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ เชื้อโรคจึงมีช่วงเวลาในการแบ่งตัวและ เจริญเติบโต เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอันมาก จนทำให้มีอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย หรือขัดเบา และแสบเวลาถ่ายปัสสาวะ บางคนอาจมีปัสสาวะขุ่น หรือมีเลือดปน บางคนเชื้อกระจายผ่านท่อไตขึ้นมาที่กรวยไต ทำให้มีอาการ ไข้สูงหนาวสั่น ปวดที่บริเวณสีข้างด้านที่มีการติดเชื้อ ซึ่งบ่งบอกถึงอันตรายต่อระบบปัสสาวะที่มากขึ้นจนเป็นโรคร้ายแรงขึ้นตามลำดับ



โลหิตพิการ

ปัสสาวะมีคุณสมบัติเป็นกรด แต่โดยธรรมซาติเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวรวมทั้งน้ำเหลืองมีคุณสมบัติเป็นด่างอ่อนๆ ปัสสาวะที่ถูกดูดซึมย้อนกลับ (Reabsorb) เข้าไปในเส้นเลือด จะกลายเป็นกรดขึ้นมา มีผลให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และน้ำเหลืองย่ำแย่ลง ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายโดยตรง เพราะ เม็ดเลือดขาวคือตัวจับกินเชื้้อโรค โดยมีระบบน้ำเหลืองลำเลียงเม็ดเลือดขาวมาจากไขกระดูกนั่นเองปริมาณปัสสาวะที่ถูกดูด ซึมย้อนกลับเข้าไปยิ่งมากและนานเท่าใด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และน้ำเหลืองก็จะย่ำแย่ลงเท่านั้น นี่คือสาเหตุที่แท้จริงของโลหิตพิการ และเม็ดเลือดน้อย 

ตับร้อน ไตร้อน

ตับทำหน้าที่กรองและทำลายสารพิษ เข่น สารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลง ผงชูรส เป็นต้น มีอะไรแปลกปลอมที่เป็นพิษปนเข้าในร่างกาย ตับจะกรองและทำลายก่อน ส่วนไตทำหน้าที่ขับของเสีย ที่เป็นผลผลิตจากร่างกาย และกรองสารพิษที่หลงเหลือ ออกจากเส้นเลือด พูดง่ายๆ ก็คือไตทำหน้าที่กรองโลหิตให้บริสุทธิ์
เมื่ออั้นปัสสาวะนาน ๆ ปัสสาวะที่ถูกดูดซึมย้อนกลับ เข้าไปในเส้นเลือด ก็กลายเป็นของเสียที่ร่างกายต้อง ทำลายและขับออก ของเสียในเลือดที่เพิ่มมากขึ้น ตับ ต้องทำงานหนักมากขึ้น ตับจึงร้อน ไตทำงานหนักมากขึ้น ไตจึงร้อน ยิ่งอั้นป้สสาวะนานเท่าไร ตับและไตต้อง ทำงานหนักมากขึ้นตามไปเท่านั้น



โรคภูมิแพ้

เมื่ออั้นปัสสาวะนาน ๆ ปัสสาวะทถูกดูดซึมย้อนกลับเข้าไปในเส้นเลือด กลายเป็นทั้งเนื้อทั้งตัวแช่ปัสสาวะ แล้วร่างกายจะย่ำแย่ขนาดไหน เนื้อเราก็เช่นกัน แช่อยู่ในปัสสาวะที่ถูกดูดซึม ย้อนกลับเข้าไปในเส้นเลือดนาน ๆ ปัสสาวะได้ซึมซาบปนเข้าเนื้อของเราเหมือนเนื้อแดดเดียวนั่นเอง ผลสุดท้ายของเสียในปัสสาวะทำให้ร่างกายของเราทำงานผิดปกติ ลมพิษก็เป็นง่าย สิวก็ขึ้นง่าย น้ำเหลืองก็เสียง่าย เม็ดผื่นที่สองข้างขาหนีบขึ้นง่าย เป็นภูมิแพ้ บางครั้งยุงกัดก็บวม บางครั้งกินอาหารทะเลหรือกินอะไรผิดไปหน่อยผื่นเห่อขึ้นมาเชียว บางทีอึดอัดหายใจไม่ค่อยออก เป็นต้น

เมื่อหลวงพ่อคอยเฝ้าสังเกตก็ทราบถึงสาเหตุว่า เวลาทายาไปแล้วก็หายได้พักหนึ่ง เมื่อเดินทางแล้วรถไปติดจึงต้องอั้นปัสสาวะ พอกลับมารู้สึกหน่วง ๆ หน้าท้อง แต่คืนนั้นยังไม่เป็นไร พอข้ามมาอีกคืนเท่านั้น คันขึ้นมาเลย กว่าจะทราบถึง สาเหตุว่า อาการต่าง ๆ เกิดจากการอั้นปัสสาวะ ก็เป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุประมาณ 20 ปี มาจับทิศได้ถูกทางเมื่ออายุ 40 ปี ทรมานอยู่ 20 ปี เพราะว่าช่วงวัยรุ่นเป็นนักกีฬา ลงสนามไปแช่งกีฬาตั้งแต่บ่ายโมง กว่าจะออกจากสนามได้ก็ ประมาณ 5 โมงเย็น จึงด้องอั้นปัสสาวะตั้งแต่บ่ายโมงถึงห้าโมงเย็น เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ก็ทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ และติดนิสัยอั้นปัสสาวะครั้งละนาน ๆ ตังแต่ สมัยวัยรุ่น จึงต้องมาลำบากโดยใช่เหตุเช่นนี้

กลิ่นตัวแรง

เมื่ออั้นปัสสาวะนาน ๆ ของเสียที่ถูกดูดซึมย้อนกลับเข้าไปในเส้นเลือด กลายเป็นทั้งเนื้อทั้งตัวแช่ปัสสาวะ ทำให้คนนั้นมี กลิ่นตัวแรง ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ คนอั้นปัสสาวะเหมือนทั้งร่างกายเป็นกระโถน ใส่ปัสสาวะเคลื่อนที่ได้นั่นเอง



นิ่ว

เมื่ออั้นปัสสาวะนาน ๆ แคลเซียมที่เป็น ส่วนประกอบในปัสสาวะ จะตกค้างอยู่ใน ระบบทางเดินปัสสาวะ ผลต่อไปข้างหน้า คือเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือนิ่วในท่อไต หรือนิ่วในไตก็ได้ ใครที่เคยเทกระโถนให้ผู้เฒ่า คงจะสังเกตเห็นว่ากระโถนที่ใช้ไม่เกินหนึ่งเดือน ก็จะมีคราบหินปูนเกาะ คราบหินปูนนั้นคือแคลเซียมที่ตกค้างจาก ปัสสาวะนั่นเอง
กระเพาะปัสสาวะเกร็ง ใครที่อั้นปัสสาวะไว้บ่อย ๆ กล้ามเนื้อที่กระเพาะปัสสาวะจะเกร็ง เมื่อเกร็งแล้วมันจึงไม่ฟู ทำให้กระเพาะปัสสาวะหดตัวมีขนาดเล็กลง ความสามารถในการเก็บปัสสาวะของมันก็ลดลง ก็จะทำให้เราเป็นโรคปวดปัสสาวะบ่อย



วิธีป้องกันก็อย่าไปอั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ และวิธีแกัไขโดยการออกกายบริหารให้มากสักหน่อย จะกระโดดเชือก หรือเตะลม หรือโยคะ หรืออะไรก็ตามที แต่ต้องทำให้มากพอ อย่างน้อยต้องต่อเนื่องกันไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง เมื่อมันคลายเต็มที่แล้ว ความสามารถในการเก็บปัสสาวะ ก็จะกลับคืนมาเก็บปัสสาวะได้มากขึ้นจนเป็นปกติตามเดิม วิธีที่ได้ผลเร็วมากอีกวิธีหนึ่งคือ หากวันไหนอั้นปัสสาวะนาน ๆ ก่อนนอนให้ใครที่นวดเป็น นวดบริเวณท้องน้อย และบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ (กระดูกที่อยู่ระหว่างก้นทั้งสองข้าง) จะช่วยให้อาการ เกร็งตัวของกระเพาะปัสสาวะคลายตัวลง

นั่งสมาธิได้ไม่ดี

การอั้นปัสสาวะบ่อย ๆ คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ได้พูดเตือนหลวงพ่อไว้ว่า "หลวงพ่อทัตตะ การอั้นปัสสาวะนาน ๆ ต่อไปจะทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย แล้วฝึกสมาธิไม่ก้าวหน้า" คำเตือนของ คุณยายอาจารย์ๆ ย่อมมีนัยว่า ใครที่นั่งสมาธิแล้ว ยังเข้าไม่ถึงองค์พระ หากยังไม่เลิกอั้นปัสสาวะนาน ๆ ชาตินี้ก็จะเข้าไม่ถึง ที่เข้าถึงแล้วก็จะไม่แตกฉาน จะไม่ก้าวหน้าต่อไปอีก จะเห็นได้ว่าแค่ไม่ระวังในเรื่องของการอั้นปัสสาวะ ซึ่งเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่ก็เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมของพวกเราอย่างมหันต์

เมื่อได้รู้จักโทษของการอั้นปัสสาวะแล้ว เราควรต้องศึกษาโทษของการอั้นอุจจาระและวิธีการแก้ไขอาการ ๆ ด้วยตัวเราเอง ซึ่งจะนำเสนอในตอนต่อไป คือ นิสัยการขับถ่ายอุจจาระ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือสุขภาพที่ดีคุณทำได้ง่ายๆสบายๆ (สรุปจากธรรมเทศนาของหลวงพ่อทัตตชีโว)
ขอบคุณภาพจาก www.pixabay.com


วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

ป้องกันตนเองจากโรคโควิด19 ด้วยนิสัยรักษาสุขภาพ ตอนที่ 1 นิสัยการดื่มน้ำ

เรียนรู้วิธีป้องกันตนเองจากโรคโควิด19               

หลังจากที่ WHO (World Health Organization) หรือ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในจีน (ชื่อเป็นทางการคือ โควิด19) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศแล้ว หลังพบผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2563

การดูแลป้องกันตนเอง เพื่อให้ปลอดภัยจากการถูกโรคติดต่อโจมตี เป็นสิ่งที่คนในสังคมตื่นตัวเป็นอย่างมาก

หากศึกษาเรื่องโรคระบาดระดับโลกทั้งหลายที่ผ่านมาเราพบว่า เชื้อโรคเหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน แต่คนนั้นมีการปรับตัวจนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่เคยระบาดได้ 

สิ่งที่แพทย์ได้เน้นย้ำนอกจากการทำ Social Distancing คือ เว้นระยะห่างจากสังคมแล้ว... 

เรายังต้องสนใจในเรื่องของการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อที่จะสามารถป้องกันตนเอง ให้ปลอดภัยจากเชื้อทั้งหลายด้วยตัวเราเองได้

การดูแลรักษาสุขภาพนั้น สำหรับคนบางคนเป็นเรื่องยาก เพราะใช้วิธีพึ่งพาการรักษาจากแพทย์เป็นหลัก แต่สำหรับภาวะโรคใหม่ที่ยังไม่มียาหรือวัคซีนรักษานี้ เราจำเป็นต้องเป็นหมอให้ตัวเองและเน้นการป้องกันมากกว่ารักษาให้เป็นนิสัยอีกด้วย คำถามต่อมา คือ นิสัยนี้ควรเริ่มต้นอย่างไร?



นิสัยรักษาสุขภาพ

นิสัย คือ พฤติกรรมเคยชิน ซึ่งเกิดจากการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดบ่อย ๆ จนติด เมื่อติดแล้ว ถ้าไม่ได้ทำอีกก็จะรู้สึกหงุดหงิด นิสัย เป็นเสมือนโปรแกรมประจำตัวที่กำหนดพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ ของแต่ละบุคคล ใครมีนิสัยอย่างไรก็จะทำตามความเคยชิน อย่างหนึ่งโดยอัตโนมัติ

บทแรกสำหรับการสร้างนิสัยดี

1. กิจวัตรประจำวันของตนเอง ได้แก่ การใช้สอย ดูแลเรื่องปัจจัย 4 เป็นหลัก นับตั้งแต่ดูแลใช้สอยบริโภค
เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค รวมไปถึง การอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสุขอนามัย

2. หน้าที่การงานที่ตนเองต้องรับผิดชอบ เช่น งานอาชีพ งานเลี้ยงลูก งานดูแลพ่อแม่ งานสังคมสงเคราะห์ งานเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ฯลฯ


วิธีสร้างนิสัยดีอย่างถาวร

1. อยู่ให้ห่างจากคนไม่ดี

2. หมั่นเข้าใกล้คนดี

3. หมั่นทำสมาธิให้เป็นกิจวัตรประจำวัน จะเกิดกำลังใจและกำลังปัญญาในการสั่งสมคุณความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป พร้อมทั้งหาวิธีคุ้มครองป้องกันตน ให้ห่างจากความชั่วได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น




ที่มาของความรู้เรื่องสุขภาพ

1. จากการสังเกตตนเอง
เตือนตนเองเสมอว่า แม้จะพบหมอเก่งเพียงใดก็ตาม ถ้าไม่รู้จักสังเกตเฝ้าระวังดูแลตนเองด้วยแล้ว โอกาสที่จะหายป่วยไข้โดยเด็ดขาดย่อมเป็นไปได้ยาก

2. จากการซักถามหมอ
ทั้งเรื่องสาเหตุตลอดจนวิธีป้องกันรักษา เพื่อเป็นหลักประกันว่า โรคชนิดนี้หลังจากหายแล้วจะไม่ย้อนกลับมาเป็นอีก

3. จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ

หลวงพ่อทัตตชีโวได้ข้อสรุปว่าถ้าไม่ใช่โรคที่เกิดจากกรรมข้ามชาติแล้ว โรคส่วนมากมักเกิดจากนิสัยมักง่ายตามใจตัวเอง เช่น นิสัยตามใจปาก ตามใจท้อง ความมักง่ายในอิริยาบถต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นตัวบ่อนทำลายสุขภาพที่แท้จริงของเรา

นิสัยการดูแลสุขภาพที่สำคัญเป็นประการแรก ที่จะขอพูดถึง คือ



นิสัยการดื่มน้ำ

ดื่มน้ำอย่างไร ให้ถูกดี ถึงดี พอดี

ความสำคัญของน้ำ
คนเรามีส่วนประกอบที่ เป็นน้ำ ถึง 2 ใน 3 ส่วนของร่างกาย และน้ำยังเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของทุกระบบภายในร่างกาย เมื่อเป็นเช่นนั้น อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ต้องดื่มน้ำให้มากเพียงพอ น้ำก็จะช่วยประคับประคองสุขภาพของเราให้ดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข

ร่างกายขาดน้ำทำให้เกิดผลเสียอย่างไร 

1. อวัยวะภายในทำงานหนัก
กระเพาะอาหารและลำไส้ ระบบการไหลเวียนของเลือดขาดน้ำ มีผลทำให้เลือดข้น หัวใจ ปอด ไต ต้องทำงานหนักมากขึ้น

2. ปวดศีรษะ
ตามธรรมดาการสูบฉีดเลือดจากหัวใจขึ้นไปสู่ศีรษะ จะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกต้านไว้ เลือดที่ข้นและมีจำนวนน้อยจึงไปถึงศีรษะได้น้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ที่ศีรษะมีเส้นประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก จึงไวต่อความรู้สึกปวดมากกว่าส่วนอื่น

3. คัดจมูก
ในขณะที่ร่างกายขาดน้ำ น้ำที่มีอยู่ในตัวก็ร้อนราวกับจะเดือดขึ้น ทำให้มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล

4. ไข้จากการขาดน้ำ
ที่พบบ่อยคือ เกิดจากการได้รับเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง และการขาดน้ำก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการไข้ได้

5. แผลร้อนใน คออักเสบและทอนซิลอักเสบ
แผลร้อนใน คออักเสบและทอนซิลอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหนึ่งที่เกิดได้บ่อย คือ การขาดน้ำ

6. ท้องผูก-ริดสีดวงทวารหนัก
ลำไส้ใหญ่มีอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญ คือ ดูดน้ำจากกากอาหารกลับคืนเข้าสู่กระแสเลือด

7. นิ่ว
ถ้าดื่มน้ำน้อยจึงไม่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกปวดปัสสาวะ แล้วขับออกมาได้จึงต้องค้างอยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นเวลานาน ตะกอนที่อยู่ในปัสสาวะจึงตกค้างและค่อยๆ จับตัวกันเป็นก้อน ในที่สุดก็เกิดเป็นนิ่วในไต หรือนิ่วท่อไต หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะซึ่งเป็นอันตรายมาก

8. เส้นติด เท้าแพลงบ่อย ๆ
ร่างกายขาดน้ำ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและพังผืดเหี่ยว เมื่อเส้นเหี่ยวก็จะเกาะติดกันเป็นแผง มิหนำซ้ำ บางเส้นยังไขว้กันอีกด้วย แม้ต่อมาจะพยายามออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นเท่าไร บริหารยืดเส้นยืดสายอย่างไร อาการเส้นติดก็ยากที่จะหลุดออกจากกัน กลับคืนสู่สภาพปกติ

9. ตื่นแล้วไม่สดชื่น
บางคนเมื่อตื่นนอนตอนเช้า ก็ยังรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน ไม่อยากจะลุกขึ้น รู้สึกว่ายังนอนไม่พอ ทั้ง ๆ ที่นอนมาทั้งคืน เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วรีบดื่มน้ำเข้าไปสัก 2-3 แก้ว เซลล์ก็จะกลับชุ่มชื่นขึ้น เราก็จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทันที

10. อิ่มแล้วง่วง
บางคนรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็ง่วง ถ้านั่งสมาธิก็จะหลับ สัปหงก สาเหตุที่สำคัญคือ ดื่มน้ำน้อยไป หรือรับประทานอาหารมากไป จนไม่มีช่องว่างสำหรับน้ำ ทำ ให้อาหารในกระเพาะข้นมาก ยากต่อการย่อย




วิธีสังเกตอาการที่ร่างกายขาดน้ำ

อาการที่ร่างกายขาดน้ำ สามารถสังเกตได้จากอาการปากแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ ปากแตก ผิวแตก เสียงแหบ ท้องผูกจัด ร้อนใน ฯลฯ ยิ่งกว่านั้นยังเป็นสิ่งที่เตือนว่า นิสัยที่ไม่ดี คือขาดความสังเกต มักง่าย เอาแต่ใจตน ได้เกิดขึ้นในตัวเราแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง
อนึ่ง ยังมีวิธีสำรวจตรวจสอบตัวเองง่ายๆ ว่าร่างกายขาดน้ำหรือไม่ ก็คือ หากปัสสาวะมีสีเหลืองยิ่งถ้าเหลืองเข้มเหมือนกับน้ำชาชงแก่ๆ แสดงว่าขาดน้ำอย่างมาก ส่วนผู้ที่ปัสสาวะสีเหลืองอ่อนหรือปัสสาวะใส แสดงว่า ร่างกายมีน้ำเพียงพอ

ดื่มน้ำอุ่นดีอย่างไร

ร่างกายดูดซึมน้ำอุ่นได้ง่ายกว่าน้ำเย็น เพราะน้ำอุ่นมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกาย (อุณหภูมิปกติของร่างกาย 37องศาเซลเซียส) ถ้าเราดื่มน้ำอุ่นหรือจิบน้ำร้อนเข้าไป ร่างกายก็จะดูดซึมได้ทันที




การดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนั้น อย่าไปกำหนดเพียงว่า วันนี้ต้องได้ปริมาณของน้ำ 10 แก้ว หรือ 20 แก้วแล้วพอ แต่ให้คำนึงถึงสภาพดินฟ้าอากาศที่แวดล้อมตัวเรา (กลางแดด/ถูกพัดลมเป่า) และกิจกรรมที่เราทำในแต่ละวันด้วยเป็นเกณฑ์ หากออกกำลังกาย เสียเหงื่อมาก ๆ อย่างนี้น้ำ 10 แก้วไม่พอแล้ว อาจจะต้องเพิ่มเป็น 14-15 แก้ว เป็นต้น

มีวิธีสังเกตอย่างง่าย ๆ ก็คือ ปัสสาวะมีสีใส เหมือนน้ำที่ดื่มเข้าไป แสดงว่า การดื่มน้ำในวันนั้นเพียงพอ แต่ถ้าปัสสาวะขุ่นคลั่กเหลืองอ๋อย หรือเป็นสีชาชงแก่ๆ ต้องดื่มน้ำเพิ่มเข้าไปอีกให้มากพอ 

คนที่ดื่มน้ำเป็น พอตื่นเช้าจะรีบดื่มน้ำอุ่น 2-3 แก้วในทันที เพื่อให้ร่างกายสดชื่นเร็วที่สุด

ก่อนรับประทานอาหารเช้า อาจจะดื่มน้ำอีกสักแก้วครึ่งแก้วก็ได้ แต่ไม่ควรมากกว่านั้น

ครั้นหลังรับประทานอาหารเสร็จ ให้ดื่มน้ำตามไปสัก 1 แก้วทันที ทิ้งช่วงอีกสักพักจึงดื่มน้ำตามเข้าไปอีก 1-2 แก้ว กระเพาะและลำไส้ก็จะสามารถบีบตัวย่อยอาหารได้ง่าย จึงทำให้เราไม่ง่วงไม่เพลีย
สำหรับคนที่ต้องเดินทางออกจากบ้านในตอนเช้า เมื่อรับประทานอาหารเช้าเสร็จก็ดื่มน้ำเพียง 1 แก้วก็พอ ในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง ครั้นถึงที่หมายแล้วจะดื่มน้ำอึกกี่แก้วก็ดื่มได้ตามความพอใจ ไม่กระทบต่อระบบการย่อยอาหาร

ก่อนนอนก็เหมือนกัน ก่อนนอน ๒ ชั่วโมง อย่าดื่มน้ำมาก ถ้าในระหว่าง 2 ชั่วโมงนี้ กระหายน้ำก็ดื่มเพียงเล็กน้อยมิฉะนั้นจะต้องลุกเข้าห้องน้ำในตอนดึกอีก ยกเว้นในกรณีบุคคลที่ไม่สามารถดื่มน้ำได้มากเหมือนคนทั่วไป เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจขั้นร้ายแรง  เป็นต้น 

สำหรับนิสัยรักสุขภาพเรื่องต่อไป คือ นิสัยการขับถ่ายปัสสาวะ ซึ่งจะนำเสนอในตอนที่ 2 ต่อไป

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
-หนังสือสุขภาพที่ดีคุณทำได้ง่ายๆสบายๆ (สรุปจากธรรมเทศนาของหลวงพ่อทัตตชีโว)
-สำนักข่าวThaipbs https://news.thaipbs.or.th/content/288500
ขอบคุณรูปภาพจากwww.pixabay.com