วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

ป้องกันตนเองจากโรคโควิด19 ด้วยนิสัยรักษาสุขภาพ ตอนที่ 2 นิสัยการขับถ่ายปัสสาวะ


การป้องกันตนเองจากโรคระบาดโควิด19ที่ดีที่สุด คือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยนิสัยการดื่มน้ำ เมื่อเราได้ศึกษาเรื่องนิสัยการดื่มน้ำกันไปพอสมควรแล้ว นิสัยรักสุขภาพต่อไปก็คือ 





นิสัยการขับถ่ายปัสสาวะ

สิ่งที่ไม่ควรให้เกิดเป็นนิสัยเลย นั่นคือนิสัยการอั้นปัสสาวะและอั้นอุจจาระ ซึ่งเป็นนิสัยบั่นทอนสุขภาพ

ผลเสียของการอั้นปัสสาวะนาน ๆ

ใครที่อั้นปัสสาวะจนมีความรู้สึกว่าหายปวด อย่าเข้าใจผิด คิดว่าร่างกายของเราแข็งแรง เพราะสภาวะเช่นนั้น กำลังก่อความพินาศให้กับร่างกายของเรา นับตั้งแต่กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โลหิตพิการ ตับร้อน ไตร้อน โรคภูมิแพ้ กลิ่นตัว แรง นิ่ว กระเพาะปัสสาวะเกร็ง เป็นต้น รวมไปถึงทำให้ผลของการปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้าอีกด้วย

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ผลของการอั้นปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและอาการเบื้องต้น ก็คือ เวลาปัสสาวะจนรู้สึกว่าหมดแล้ว แต่พอเวลาผ่านไปไม่ถึง 5 นาที กลับปวดปัสสาวะอีก ยิ่งไปกว่านั้น หากกระเพาะปัสสาวะอักเสบนาน ติดต่อกันเป็นอาทิตย์ พอปัสสาวะว่าหมดแล้ว ทันทีที่ลุกขึ้นมันจะหยดติ๋ง ๆ เลย เพราะเมื่อเราอั้นปัสสาวะนาน ๆ ปัสสาวะจะถูกดูดซึมย้อนกลับ (Reabsorb) เข้าไปในเส้นเลือดแล้วก็ถูกขับออกมาใหม่ เพราะฉะนั้นจำนวนปัสสาวะออก มาใหม่เท่าไร ก็ฟ้องว่ามันได้ถูกดูดซึมย้อนกลับเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดเท่านั้น

บางคนมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้พบมากที่ บริเวณทวารหนัก แล้วเกิดการปนเปื้อนเข้าสู่ท่อปัสสาวะจนมาถึงกระเพาะปัสสาวะ เมื่ออั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ เชื้อโรคจึงมีช่วงเวลาในการแบ่งตัวและ เจริญเติบโต เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอันมาก จนทำให้มีอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย หรือขัดเบา และแสบเวลาถ่ายปัสสาวะ บางคนอาจมีปัสสาวะขุ่น หรือมีเลือดปน บางคนเชื้อกระจายผ่านท่อไตขึ้นมาที่กรวยไต ทำให้มีอาการ ไข้สูงหนาวสั่น ปวดที่บริเวณสีข้างด้านที่มีการติดเชื้อ ซึ่งบ่งบอกถึงอันตรายต่อระบบปัสสาวะที่มากขึ้นจนเป็นโรคร้ายแรงขึ้นตามลำดับ



โลหิตพิการ

ปัสสาวะมีคุณสมบัติเป็นกรด แต่โดยธรรมซาติเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวรวมทั้งน้ำเหลืองมีคุณสมบัติเป็นด่างอ่อนๆ ปัสสาวะที่ถูกดูดซึมย้อนกลับ (Reabsorb) เข้าไปในเส้นเลือด จะกลายเป็นกรดขึ้นมา มีผลให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และน้ำเหลืองย่ำแย่ลง ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายโดยตรง เพราะ เม็ดเลือดขาวคือตัวจับกินเชื้้อโรค โดยมีระบบน้ำเหลืองลำเลียงเม็ดเลือดขาวมาจากไขกระดูกนั่นเองปริมาณปัสสาวะที่ถูกดูด ซึมย้อนกลับเข้าไปยิ่งมากและนานเท่าใด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และน้ำเหลืองก็จะย่ำแย่ลงเท่านั้น นี่คือสาเหตุที่แท้จริงของโลหิตพิการ และเม็ดเลือดน้อย 

ตับร้อน ไตร้อน

ตับทำหน้าที่กรองและทำลายสารพิษ เข่น สารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลง ผงชูรส เป็นต้น มีอะไรแปลกปลอมที่เป็นพิษปนเข้าในร่างกาย ตับจะกรองและทำลายก่อน ส่วนไตทำหน้าที่ขับของเสีย ที่เป็นผลผลิตจากร่างกาย และกรองสารพิษที่หลงเหลือ ออกจากเส้นเลือด พูดง่ายๆ ก็คือไตทำหน้าที่กรองโลหิตให้บริสุทธิ์
เมื่ออั้นปัสสาวะนาน ๆ ปัสสาวะที่ถูกดูดซึมย้อนกลับ เข้าไปในเส้นเลือด ก็กลายเป็นของเสียที่ร่างกายต้อง ทำลายและขับออก ของเสียในเลือดที่เพิ่มมากขึ้น ตับ ต้องทำงานหนักมากขึ้น ตับจึงร้อน ไตทำงานหนักมากขึ้น ไตจึงร้อน ยิ่งอั้นป้สสาวะนานเท่าไร ตับและไตต้อง ทำงานหนักมากขึ้นตามไปเท่านั้น



โรคภูมิแพ้

เมื่ออั้นปัสสาวะนาน ๆ ปัสสาวะทถูกดูดซึมย้อนกลับเข้าไปในเส้นเลือด กลายเป็นทั้งเนื้อทั้งตัวแช่ปัสสาวะ แล้วร่างกายจะย่ำแย่ขนาดไหน เนื้อเราก็เช่นกัน แช่อยู่ในปัสสาวะที่ถูกดูดซึม ย้อนกลับเข้าไปในเส้นเลือดนาน ๆ ปัสสาวะได้ซึมซาบปนเข้าเนื้อของเราเหมือนเนื้อแดดเดียวนั่นเอง ผลสุดท้ายของเสียในปัสสาวะทำให้ร่างกายของเราทำงานผิดปกติ ลมพิษก็เป็นง่าย สิวก็ขึ้นง่าย น้ำเหลืองก็เสียง่าย เม็ดผื่นที่สองข้างขาหนีบขึ้นง่าย เป็นภูมิแพ้ บางครั้งยุงกัดก็บวม บางครั้งกินอาหารทะเลหรือกินอะไรผิดไปหน่อยผื่นเห่อขึ้นมาเชียว บางทีอึดอัดหายใจไม่ค่อยออก เป็นต้น

เมื่อหลวงพ่อคอยเฝ้าสังเกตก็ทราบถึงสาเหตุว่า เวลาทายาไปแล้วก็หายได้พักหนึ่ง เมื่อเดินทางแล้วรถไปติดจึงต้องอั้นปัสสาวะ พอกลับมารู้สึกหน่วง ๆ หน้าท้อง แต่คืนนั้นยังไม่เป็นไร พอข้ามมาอีกคืนเท่านั้น คันขึ้นมาเลย กว่าจะทราบถึง สาเหตุว่า อาการต่าง ๆ เกิดจากการอั้นปัสสาวะ ก็เป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุประมาณ 20 ปี มาจับทิศได้ถูกทางเมื่ออายุ 40 ปี ทรมานอยู่ 20 ปี เพราะว่าช่วงวัยรุ่นเป็นนักกีฬา ลงสนามไปแช่งกีฬาตั้งแต่บ่ายโมง กว่าจะออกจากสนามได้ก็ ประมาณ 5 โมงเย็น จึงด้องอั้นปัสสาวะตั้งแต่บ่ายโมงถึงห้าโมงเย็น เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ก็ทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ และติดนิสัยอั้นปัสสาวะครั้งละนาน ๆ ตังแต่ สมัยวัยรุ่น จึงต้องมาลำบากโดยใช่เหตุเช่นนี้

กลิ่นตัวแรง

เมื่ออั้นปัสสาวะนาน ๆ ของเสียที่ถูกดูดซึมย้อนกลับเข้าไปในเส้นเลือด กลายเป็นทั้งเนื้อทั้งตัวแช่ปัสสาวะ ทำให้คนนั้นมี กลิ่นตัวแรง ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ คนอั้นปัสสาวะเหมือนทั้งร่างกายเป็นกระโถน ใส่ปัสสาวะเคลื่อนที่ได้นั่นเอง



นิ่ว

เมื่ออั้นปัสสาวะนาน ๆ แคลเซียมที่เป็น ส่วนประกอบในปัสสาวะ จะตกค้างอยู่ใน ระบบทางเดินปัสสาวะ ผลต่อไปข้างหน้า คือเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือนิ่วในท่อไต หรือนิ่วในไตก็ได้ ใครที่เคยเทกระโถนให้ผู้เฒ่า คงจะสังเกตเห็นว่ากระโถนที่ใช้ไม่เกินหนึ่งเดือน ก็จะมีคราบหินปูนเกาะ คราบหินปูนนั้นคือแคลเซียมที่ตกค้างจาก ปัสสาวะนั่นเอง
กระเพาะปัสสาวะเกร็ง ใครที่อั้นปัสสาวะไว้บ่อย ๆ กล้ามเนื้อที่กระเพาะปัสสาวะจะเกร็ง เมื่อเกร็งแล้วมันจึงไม่ฟู ทำให้กระเพาะปัสสาวะหดตัวมีขนาดเล็กลง ความสามารถในการเก็บปัสสาวะของมันก็ลดลง ก็จะทำให้เราเป็นโรคปวดปัสสาวะบ่อย



วิธีป้องกันก็อย่าไปอั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ และวิธีแกัไขโดยการออกกายบริหารให้มากสักหน่อย จะกระโดดเชือก หรือเตะลม หรือโยคะ หรืออะไรก็ตามที แต่ต้องทำให้มากพอ อย่างน้อยต้องต่อเนื่องกันไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง เมื่อมันคลายเต็มที่แล้ว ความสามารถในการเก็บปัสสาวะ ก็จะกลับคืนมาเก็บปัสสาวะได้มากขึ้นจนเป็นปกติตามเดิม วิธีที่ได้ผลเร็วมากอีกวิธีหนึ่งคือ หากวันไหนอั้นปัสสาวะนาน ๆ ก่อนนอนให้ใครที่นวดเป็น นวดบริเวณท้องน้อย และบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ (กระดูกที่อยู่ระหว่างก้นทั้งสองข้าง) จะช่วยให้อาการ เกร็งตัวของกระเพาะปัสสาวะคลายตัวลง

นั่งสมาธิได้ไม่ดี

การอั้นปัสสาวะบ่อย ๆ คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ได้พูดเตือนหลวงพ่อไว้ว่า "หลวงพ่อทัตตะ การอั้นปัสสาวะนาน ๆ ต่อไปจะทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย แล้วฝึกสมาธิไม่ก้าวหน้า" คำเตือนของ คุณยายอาจารย์ๆ ย่อมมีนัยว่า ใครที่นั่งสมาธิแล้ว ยังเข้าไม่ถึงองค์พระ หากยังไม่เลิกอั้นปัสสาวะนาน ๆ ชาตินี้ก็จะเข้าไม่ถึง ที่เข้าถึงแล้วก็จะไม่แตกฉาน จะไม่ก้าวหน้าต่อไปอีก จะเห็นได้ว่าแค่ไม่ระวังในเรื่องของการอั้นปัสสาวะ ซึ่งเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่ก็เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมของพวกเราอย่างมหันต์

เมื่อได้รู้จักโทษของการอั้นปัสสาวะแล้ว เราควรต้องศึกษาโทษของการอั้นอุจจาระและวิธีการแก้ไขอาการ ๆ ด้วยตัวเราเอง ซึ่งจะนำเสนอในตอนต่อไป คือ นิสัยการขับถ่ายอุจจาระ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือสุขภาพที่ดีคุณทำได้ง่ายๆสบายๆ (สรุปจากธรรมเทศนาของหลวงพ่อทัตตชีโว)
ขอบคุณภาพจาก www.pixabay.com


5 ความคิดเห็น: