การสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายที่ดีที่สุด คือการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ใช้การได้ตามปกติ โดยมีเครื่องชี้วัดคือ สิ่งที่เราขับถ่ายออกมา จากตอนที่แล้วเราได้ศึกษาจากเรื่อง นิสัยการขับถ่ายอุจจาระ แล้ว ครั้งนี้ เราจะมาดูการเลือกกินยาเมื่อเจ็บป่วย โดยสร้างนิสัยการกินอาหารเป็นยา
อาหารคือยาหลัก
ใครก็ตามที่ป่วยไข้แล้ว อดทนฝืนใจปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น เมื่อถึงเวลากินก็กิน
จะกินได้มากน้อยเท่าไรก็ฝืนกินเข้าไป เวลาปวด ปัสสาวะหรืออุจจาระก็ไม่อั้นเอาไว้ ฝืนเดินไปเข้าห้องน้ำ
ถึงเวลานอนก็นอน หลับ ไม่หลับก็ฝืนหลับตานอน
คนไข้ประเภทดูแลตัวเองเป็นอย่างนี้จะหายเร็ว
"ยาที่ดีที่สุดในโลก
ไม่มีอะไรเกินข้าวปลาอาหารที่เรากินเข้าไป สิ่งนี้คือยาหลัก"
ยาอะไร ๆ
ที่มีในโลกนี้เป็นเพียงยาเสริมช่วยให้เราหายป่วยหายไข้ เพราะฉะนั้น
ไม่ว่าเราจะกินยาอะไรก็ตาม ถ้าไม่ได้กินข้าวปลาอาหาร แล้วฟื้นยาก
แม้ป่วยหนักท่านก็จะบอกว่า ให้ฝืนใจกินเข้าไป อย่างน้อยก็เอาไปรองท้องไว้ ไม่ให้น้ำย่อยกัดกระเพาะ
ไม่ให้น้ำย่อยเสียเปล่า และที่สำคัญก็คือ เพื่อไม่ให้ระบบย่อยอาหารรวน
ทั้งนี้เพราะเมื่อน้ำย่อยหลั่งออกมา แล้วไม่ถูกใช้ วันหลังก็จะไม่หลั่งออกมา หรือหลั่งผิดเวลา
ซึ่งจะมีผลเสียตามมาอีกเยอะ
ดังนั้น
คนประเภทที่ป่วยแล้วใจตก ท้อแท้ นอนซม ไม่พยายามกระดุกกระดิก ทำตัวเหมือนคนใกล้ตาย
คนประเภทนี้อย่าว่าแต่เวลาป่วย แม้เวลาทำงานตามปกติ ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ แต่ใครถ้าถึงเวลากิน
แม้ไม่หิวก็ต้องกิน เพียงแค่ นึก ๆ ให้อยากกิน เดี๋ยวก็กินได้ ถึงเวลานอน แม้ไม่ง่วงก็ข่มตานอนได้
คนประเภทนี้กำลังใจ กำลังสติปัญญามหาศาลเพียงไหน แล้วจะมีอะไรอีกที่เขาทำไม่สำเร็จ
น้ำซุปดีอย่างไร
แต่ละอย่างที่กินมีวัตถุประสงค์
หรือประโยชน์อะไร คนที่กินต้มยำเป็น เขาจะกินแต่น้ำแกง น้ำแกงซึ่งเป็นส่วนที่ดี มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด
ทำไม? ขอให้นึกถึงยาต้ม
ยาหม้อ เรากินน้ำยา หรือว่ากินกากยา ทุกคนตอบได้เองอยู่แล้ว
แต่ความเป็นจริงปรากฏว่าคนส่วนใหญ่ เมื่อกินต้มยำจะกินแต่เนื้อ คือกินกากอาหารซึ่งย่อยยาก
แล้วบอกว่ากินแล้วหนักท้อง อยู่ท้องดี ส่วนน้ำแกง ซึ่งเป็นส่วนที่ดี
มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด กลับเอาไปเททิ้งเสีย
นอกจากอาหารแล้ว ยาตามธรรมชาติของเราอีกอย่างหนึ่ง คือ น้ำมูตรเน่า ซึ่งจะนำเสนอไว้เป็นความรู้ในที่นี้ เพื่อเป็นประโยชน์ในยามจำเป็น ที่หายารักษาโรคไม่ได้
การดื่มน้ำมูตรเน่า
น้ำมูตรเน่า ก็คือ น้ำมูตร หรือน้ำปัสสาวะ แม้ออกมาจากร่างกายใหม่ ๆ ก็เรียกว่า
"น้ำมูตรเน่า" ทั้งนี้เพราะออกมาจากร่างกาย ที่มีการเน่าเปื่อยผุพังอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น... แม้ปัสสาวะที่ยังอุ่น ๆ อยู่ก็ชื่อว่าเน่าแล้ว
การดื่มน้ำมูตรเน่า
จึงสมดังพุทธพจนที่ว่า "อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน"
ประโยชน์ของการดื่มปัสสาวะ
ประโยชน์สำคัญของการดื่มปัสสาวะมีอยู่ 2 ประการ คือ
1. ใช้ลดไข้ ในกรณีอยู่ลำพังคนเดียว ไม่มีใครมาเช็ดตัวให้
การดื่มปัสสาวะตนเอง จึงเป็นวิธีลดไข้ที่ดีที่สุด ปัสสาวะที่จะใช้ดื่มนั้น
โดยทั่วไปปล่อยทิ้งไว้สักครู่ให้เย็นแล้วจึงดื่ม ปริมาณที่จะดื่ม
ดื่มเต็มที่ได้เท่าไรก็เท่านั้น ส่วนจะดื่มกี่ครั้ง ก็ขึ้นอยู่กับ ว่าไข้ได้ลงได้มากเท่าไรแล้ว
ถ้ายังลดไม่พอใจ ก็ดื่มเข้าไปอีก 1-2 เที่ยว ติดต่อกันก็ได้ ไม่มีอันตรายใด ๆ
2. ใช้รักษาโรค เมื่อพระภิกษุอาพาธ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ใช้น้ำมูตรเน่า หรือ ปัสสาวะตนเองบำบัดรักษา เป็นวิธีการรักษาความเจ็บไข้ด้วยตัวเองนานกว่า
2,500 ปี มาแล้ว
ทุกวันนี้ก็ยังทันสมัยอยู่ เมื่อเราดื่มปัสสาวะกลับเข้าไปอีกครั้งหนึ่ง
เป็นเสมือนการฉีดวัคซีน หรือการปลูกฝี สิ่งแปลกปลอมที่ปนมากับปัสสาวะ ก็จะเป็นตัวไปกระตุ้นให้ทหาร
ผลิตอาวุธชีวภาคที่เฉพาะเจาะจง กับสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ และพร้อมที่จะใช้ต่อสู้
เมื่อสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ กลับเข้ามาในร่างกายอีก
ข้อควรปฏิบัติเพื่อสุขภาพ
ในแต่ละช่วงเวลากับการทำงานของอวัยวะภายใน
00.00 - 03.00 น. ตับ นอนหลับพักผ่อนให้หลับสนิท
(ความจำดี ขับไขมันในตับ
ตื่นขึ้นมาสดชื่นไม่เพลีย)
03.00 - 05.00 น. ปอด ตื่นนอน สูดอากาศบริสุทธิ์ (ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง)
05.00 - 07.00 น. ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัว เพื่อขับถ่ายอุจจาระอย่างเป็นปกติ (ล้างลำไส้ให้สะอาด)
07.00 - 09.00 น. กระเพาะอาหาร กินอาหารเช้า บำรุงสมอง
(ท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ป้องกันสมองเสื่อม)
09.00 - 11.00 น. ม้าม พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ (นํ้าเหลืองเสีย แผลในปาก เก๊าต์
อ้วน ผอม
เบาหวาน)
11.00 - 13.00 น. หัวใจ หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง (บำรุงหัวใจ)
13.00 - 15.00 น. ลำไส้เล็ก งดกินอาหารทุกประเภท (ไขมันเกาะลำไส้ทำให้เกิดแก๊สและปวดท้อง)
15.00 - 17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เหงื่อออก (ออกกำลังกายหรืออบตัว...ขับสารพิษได้มาก
ในช่วงนี้)
17.00 - 19.00 น. ไต ทำให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน
19.00 - 21.00 น. เยื่อหุ้มหัวใจ ทำสมาธิหรือสวดมนต์
21.00 - 23.00 น. ระบบความร้อนของร่างกาย (ห้ามอาบนํ้าเย็น ห้ามตากลม ทำร่างกายให้อบอุ่น)
23.00 - 01.00 น. ถุงนํ้าดี ดื่มนํ้าก่อนเข้านอน
เบาหวาน)
11.00 - 13.00 น. หัวใจ หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง (บำรุงหัวใจ)
13.00 - 15.00 น. ลำไส้เล็ก งดกินอาหารทุกประเภท (ไขมันเกาะลำไส้ทำให้เกิดแก๊สและปวดท้อง)
15.00 - 17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เหงื่อออก (ออกกำลังกายหรืออบตัว...ขับสารพิษได้มาก
ในช่วงนี้)
17.00 - 19.00 น. ไต ทำให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน
19.00 - 21.00 น. เยื่อหุ้มหัวใจ ทำสมาธิหรือสวดมนต์
21.00 - 23.00 น. ระบบความร้อนของร่างกาย (ห้ามอาบนํ้าเย็น ห้ามตากลม ทำร่างกายให้อบอุ่น)
23.00 - 01.00 น. ถุงนํ้าดี ดื่มนํ้าก่อนเข้านอน
สำหรับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด19 สามารถศึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มาให้ความรู้ทางสื่อต่าง ๆ ซึ่งหากเราปรับพฤติกรรมได้เหมาะสม เช่น ล้างมือบ่อย ๆ ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ในสถานที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน และ ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของบุคคลอื่น ๆ โดยการสวมหน้ากาก รวมถึงการเว้นระยะห่างจากสังคม รับประทานอาหารเผ็ดร้อน เพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิ ออกกำลังกาย รับแสงแดด และ นอนหลับให้เพียงพอ เป็นต้น ก็เชื่อว่าโอกาสที่จะติดโรคนี้ก็จะเป็นไปได้ยาก
แต่อย่างไรก็ตาม การดูแลร่างกายให้แข็งแรง โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ร่างกายนี้ในการสร้างความดีและบุญกุศล จึงจะสามารถเป็นเกราะคุ้มกันภัยให้ห่างจากโรคร้าย และ ป้องกันความทุกข์ทรมานจากโรคได้ เราจึงต้องไม่ประมาทในการใช้ชีวิต หมั่นทำทาน รักษาศีล สวดมนต์ เจริญภาวนา ทำจิตให้ผ่องใส ควบคู่การดูแลสังขารภายนอก นี้จึงจะเรียกว่า เป็นองค์ประกอบที่สมบูรณ์ คือ ดูแลสุขภาพกายและใจไปพร้อมกัน
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก
หนังสือสุขภาพที่ดีคุณทำได้ง่าย ๆ สบาย ๆ
(สรุปจากธรรมเทศนาของหลวงพ่อทัตตชีโว)
ข้อมูลป้องกันCorona Virusจากโรงพยาบาลมุกดาหาร
ข้อมูลป้องกันCorona Virusจากโรงพยาบาลมุกดาหาร
ภาพจาก www.pixabay.com